วัดกวิศรารามและลพบุรี

              วัดกวิศราราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี อันดับหนึ่ง ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนเพทราชา ทางด้านทิศใต้ของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ในเขตตำบลท่าหิน อำเภอเมือง ลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งมีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของลพบุรี
             ตามตำนานพระอารามหลวงนั้น บอกประวัติไว้สั้นๆ แต่เพียงว่า วัดนี้เดิมชื่อ วัดขวิด สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสร้าง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรง สถาปนาใหม่ พระราชทานนามว่า วัดกรวิศยาราม และรัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมืองลพบุรีโดยสังเขป

             ลพบุรี เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์ ริมฝั่ง แม่น้ำลพบุรี ที่ตั้งของตัวเมืองนั้นเป็นที่ดอน แต่พื้นที่โดยรอบเป็นท้องทุ่งกว้างใหญ่เพาะปลูกได้ดี สภาพของเมืองหรือการเป็นชุมชนจึงมีติดต่อกันเรื่อยมา ไม่เคยเป็นเมืองร้าง จัดว่าเป็นเมืองที่มีความ สำคัญทางการเมือง เศรษกิจ วัฒนธรรมและศาสนา มาตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งปัจจุบัน
             หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีหลายยุคหลายสมัย บอกให้ทราบว่ามีผู้คนตั้งถิ่นฐาน อยู่ที่นี่ตั้งแต่ราว ๒,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว คือตั้งแต่ครั้งยังเรียกกันว่าเป็นสมัยหินและดินแดนแห่งนี้ ก็ไม่ได้เรียกว่าลพบุรี ต่อมาก็มีชนชาติต่างๆ ผลัดเปลี่ยนกันเข้าครอบครอง เป็นอาณาจักรใหญ่โต เป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญรุ่งเรือง ปรากฏว่าร่องรอยของอารยธรรมในครั้งกระโน้นก็คือ โบราณ สถานต่างๆ เหลือให้เราเห็นในปัจจุบัน จากหลักฐานทั้งทางประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุและโบราณ สถานดังกล่าว นักวิชาการบอกว่าในอดีตมีชนชาวละว้า ขอม และมอญ เคยครอบครองดินแดนนี้ มาก่อน

แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

             ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองลพบุรีกลับมีบทบาทยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง และยิ่งใหญ่ขนาดเป็นราชธานีที่สอง หรือเมืองหลวงแห่งที่สองของไทยอย่างแท้จริง
             เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จเสวยราชสมบัติ ณ กรุงศรีอยุธยาได้ ๑๑ ปีแล้ว ได้มีการ ติดต่อกับต่างประเทศหลายชาติ ทรงเกรงภัยจากต่างประเทศที่จะมีมาทางทะเล เนื่องจากกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมน้ำมากเกินไป ทรงมีพระราชดำริว่า เมืองลพบุรี เป็นชัยภูมิอันดี มีท้องทุ่งและป่าติดต่อกัน สมควรจะเป็นราชธานี มีพระราชนิเวศน์อีกแห่งหนึ่ง จึงได้ทรงสถาปนาเป็นพระนครขึ้นอีกแห่งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๘ วัดขวิดหรือวัดกวิศราราม ก็คงจะสร้างขึ้นในครั้งนั้นนั่นเอง

ตำนานวัดขวิด โดยสังเขป

             การที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์เมืองลพบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นว่า ปราสาทพระราชวังนั้น สมเ ด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระ ราชทานอุทิศ ถวายเป็นวิสุงคามสีมา ในการทำสังฆกรรมอุปสมบทข้าราชบริพาร เมื่อทรงประชวรหนักใกล้สวรรคต บรรดาปราสาทพระราชวัง จึงยังคงเป็นวิสุงคาม สีมาอยู่ ต้องมีการผาติกรรมเสียก่อน ในการนี้ทรงมีพระราชดำริว่า หากจะสร้างวัด ให้ใหญ่โต มูลค่าทัดเทียมกับพระราชวังขึ้นที่ลพบุรี ก็เกรงว่าจะหาพระสงฆ์ไปอยู่ดูแล หรือประชาชนจะบำรุงรักษาได้โดยยาก จึงทรงบริจาคพระราชทรัพย์ ปฏิสังขรณ์วัด ซึ่งเกี่ยวเนื่อง กับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่กรุงศรีอยุธยา ๒ วัด คือวัดชุมพล นิกายาราม บางปะอินเป็นวัดมหานิกาย วัดเสนาสนาราม พระนครศรีอยุธยา เป็น วัดธรรมยุติกนิกาย และวัดขวิด(วัดกรวิศยาราม) ที่ลพบุรี หรือวัดกวิศรารามในปัจจุบัน เป็นวัดรามัญนิกายอีกวัดหนึ่ง ปรากฏรายละเอียดโดยพิศดาร ในประกาศรัชกาลที่ ๔ ลงวันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๑๓ ค่ำ ปีจอจัตวาศก พ.ศ. ๒๔๐๕
             จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง ให้ผู้ที่เคยซื้ออิฐซื้อปูนตีราคาของร้างในวังนั้น ว่าจะเป็นราคาสักเท่าไร ผู้รับสั่งเป็นอันมากปรึกษาพร้อมกัน ตีราคาว่าประมาณ ๕๐๐ ชั่งขึ้นไป ๖๐๐ ชั่งลงมา
             จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสว่า จะขอปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมสร้างอารามอื่นถวายสงฆ์ ให้หลายตำบลจงได้ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ถึง ๖๐๐ ชั่ง ๗๐๐ ชั่งขึ้นไป ใช้แทนราคา อิฐปูนของร้าง ที่มีในพระราชวังนั้น จึงได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ ให้ไปปฏิสังขรณ์ซ่อม แซม วัดชุมพลนิกายาราม ในเกาะบางปะอิน แขวงกรุงศรีอยุธยาเก่าพระอารามหนึ่ง สิ้น พระราชทรัพย์ไปแล้ว ๒๐๐ ชั่งเศษ ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่า พระอารามนั้นเป็นของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งเป็นพระชนกนาถ ของสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชนั้น ได้ทรงสถาปนาสร้างไว้ แต่เมื่อจุลศักราชใกล้ครบ ๑๐๐๐ ปี แล้วได้ทรง บริจาคพระราชทรัพย์ ให้ปฏิสังขรณืวัดเสนาสนาราม ริมวังจันทรเกษม กรุงศรีอยุธยาเก่า อีกอารามหนึ่ง สิ้นพระราชทรัพย์ไปแล้ว ๓๐๐ ชั่งเศษ ด้วยพระราชดำริเห็นว่า วัด เสนาสนาราม มีวัตถุสถานใหญ่ เห็นจะเป็นพระอารามหลวง อยู่ใกล้พระบวรราชวัง คือวังจันทรเกษม ซึ่งเป็นวังที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่เมื่อยังไม่ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชราชาภิเษก มาจนได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ราชาภิเษกแล้ว ก็ยังไม่ได้เสด็จไปประทับในวังหลวง คงประทับอยู่ในวังนั้นหลายปี และในเมืองลพบุรีนั้น ทรงพระราชดำริ จะให้ปฏิสังขรณ์พระอาราม ใช้แทนค่าอิฐปูน ในวัง ได้ทรงพินิจพิจารณาเลือกหลายอารามแล้ว วัดมหาธาตุอยู่ใกล้พระราชวัง ควรจะ ปฏิสังขรณ์ขึ้น แต่เห็นว่าวัตถุสถานในที่นั้น มีมากมายหลายสิ่ง จะให้สำเร็จแล้วไปก็ได้ เป็นอันยาก เพราะปูนหาได้ไม่ใคร่จะทันมือ อนึ่งถ้าจะสร้างขึ้นเป็นวัดใหญ่อยู่ก็ห่าง แม่น้ำลำคลอง พระสงฆ์ผู้จะอยู่ปฏิบัติอารามก็ไม่ใคร่จะมี ทอดพระเนตรเห็นวัดขวิด มีพระอุโบสถน้อยหลังหนึ่ง มีกำแพงล้อมรอบอยู่ใกล้ชิด เนื่องกับพระราชวัง จึงได้มี พระบรมราชโองการดำรัสสั่งพระนครพราม ปลัดเมืองลพบุรี เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซมขึ้นใหม่ แล้วได้พระราชทานพระราชทรัพย์ จัดซื้อสวนน้อยหน่าของราษฎร ต่อออกอีกวงหนึ่ง เป็นที่กุฏีพระสงฆ์ กุฏีศาลาก็ได้สร้างขึ้นบ้างแล้ว พระราชทรัพย์ ที่ได้ทรงบริจาค ปฏิสังขรณ์วัดขวิดนั้น สิ้นไปแล้ว ๖๐ ชั่งเศษ ยังจะทำต่อไปจนกว่า จะสำเร็จ พระราชทรัพย์ที่ทรงพระราชอุทิศบริจาคไปแล้ว และจะบริจาคต่อไปเท่าไรก็ดี เป็นค่าถาวรวัตถุครุภัณฑ์ และแรงคนทำในการปฏิสังขรณ์พระอาราม ทั้ง ๓ ที่ออกนาม มานี้ ให้ท่านทั้งปวงพึงรู้ว่าเป็นปฏิการ ใช้แทนค่าอิฐค่าปูนของร้างที่ตกค้างเหลืออยู่ใน พระราชวัง ซึ่งเป็นที่สงสัยอยู่ว่าเป็นของสงฆ์นั้นเทอญ
             บัดนี้พระอุโบสถวัดขวิด ซึ่งปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้มีพระบรมราชโองการ ให้ต่อ มุขเด็จด้านหน้าออกไป ครอบทับกรวมสวมนิมิตสีมาชัย อยู่ไม่สู้งามดี จึงได้ทรง อาราธนาพระสงฆ์ มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ เป็นประธาน ขึ้นไปชุมนุมสวดถอน พัทธสีมาเก่า แล้วผูกพัทธสีมาใหม่ ขยายออกไปให้อุปจาร รอบงามดี ก็ที่พระอุโบสถวัดขวิดนั้น มีวิสุงคามสีมา ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินสยามแต่ก่อน พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ทรงกำหนดไว้แล้วเพียงเท่าไร ยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จากพระราชอาณาเขต เป็นแขวงวิเศษสำหรับสังฆกรรม ที่อันนั้นก็เป็นอันคะเนรู้ว่า จะมีอยู่แต่เพียงที่ใกล้กับ ริเฉทสีมาที่ปรากฏอยู่แล้วนั้น ครั้งนี้เมื่อสีมาที่สงฆ์ผูก สงฆ์ถอนแล้ว วิสุงคามสีมานั้นก็คงเป็น ของสงฆ์อยู่ตามเดิม บัดนี้ทรงพระราชศรัทธา จะใคร่เพิ่มเติม วิสุงคามสีมานั้นให้ใหญ่ บริเฉทอันใดที่ พระเจ้าแผ่นดินสยามโบราณ ได้ทรงกำหนดถวายไว้แต่น้อยนั้น ขอล้มเลิกเสียแล้ว บัดนี้มีพระราชโองการ ให้กำหนดที่วิสุงคามสีมาใหม่ เพิ่มเติมเข้าโดยรอบ คือที่วัดขวิดเก่า และที่ต่อ ออกไปใหม่ วงด้วยกำแพงรอบนอก ทั้งสองวงนั้นเป็นอันเดียว ต่อกันกับเขตเก่า ของสงฆ์ เป็นแขวงเดียวไม่แยก ต่างกำหนดที่โดยยาวด้านตะวันออก ๒ เส้น ๕ วา ด้านตะวันตก ๒ เส้น ๘ วา โดยกว้างด้านเหนือ ๑๓ วา ๒ ศอก ด้านใต้ ๗ วา ๒ ศอก ทรงพระราชอุทิศ กำหนดถวาย เป็นวิสุงคามสีมาแขวงหนึ่ง ต่างหากจากพระราชอาณาเขต เป็นแขวงวิเศษสำหรับพระสงฆ์สามัคคี ต้องตาม ลัทธิในคัมภีร์ พระอรรถกถาฎีกา เป็นที่ของสงฆ์ใช้แทนที่พระราชวัง ที่ว่าพระบาท สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ทรงถวายไว้เป็นของสงฆ์ก็ดี แทนค่าอิฐค่าปูนที่ตกค้าง เหลืออยู่ในพระราชวังนั้นก็ดี อีกส่วนหนึ่งขอพระสงฆ์สามเณร และคฤหัสถ์ผู้นับถือ พระพุทธศาสนาทั้งปวง จงได้รู้ความตามประกาศมานี้ ทุกประการเทอญ
             วัดขวิดนั้น นามว่าวัดขวิดนั้นไม่สู้เพราะ พระราชทานนามเปลี่ยนว่า วัดกรวิศยาราม (ภายหลังเปลี่ยนเป็น วัดกวิศราราม ราชวรวิหาร ) ทรงพระราชอุทิศ ถวายที่วิสุงคามสีมานั้น และพระราชทานนามนี้ แก่พระอารามนั้น
             หลังจากทรงสถาปนาปฏิสังขรณ์ พระอารามต่าง ๆ แทนที่พระราชวังแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ซ่อมกำแพงและประตูวัง ส่วนที่ชำรุดทรุดโทรม ให้แข็งแรงดังเดิม ปฏิสังขรณ์พระที่นั่งจันทรพิศาล ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ และเคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช และทรงสร้างหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏขึ้น เป็นที่ประทับ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖
             แต่เดิมมาเป็นธรรมเนียม นิมนต์พระรามัญ เข้าไปสวดพระปริตในพระราชวัง นัยว่าเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจ จึงมีบันทึกในประชุมพงศาวดารว่า พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดวัดกรวิศยาราม เป็นวัดรามัญนิกาย เพื่อที่จะได้ นิมนต์พระรามัญ เข้าไปสวดพระปริตร ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ดังกล่าว

วัดกวิศราราม ราชวรวิหาร

             วัดกวิศราราม แต่เดิมคงเป็นวัดร้าง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา พระอุโบสถเดิม ซึ่งตามลักษณะเป็นพระอุโบสถ สมัยอยุธยาตอนปลาย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชนั้น เป็นพระอุโบสถขนาดย่อมแบบมหาอุด มีประตูเข้าออกทางเดียว ผนัง เจาะเป็นช่องไม่มีหน้าต่าง พระประธานซึ่งเป็นของเก่าแก่มาแต่เดิม ปัจจุบันลงรัก ปิดทองแล้วนั้น เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยอู่ทอง หลังคาของเดิมมุงด้วย กระเบื้องลอนแบบจีน ที่เรียกว่ากาบู ซึ่งนิยมใช้กันในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่นเดียว กันกับ หลังคาพระอุโบสถวัดตองปุ
              ภายในพระอุโบสถตกแต่ง โดยเขียนลายประดับเต็มทั่วทั้งที่ผนังและเสาทุกต้น สำหรับพระประธานนั้น นักโบราณคดีตรวจสอบแล้ว ให้ข้อสังเกตว่าพระประธาน ซึ่งเป็นพระขนาดใหญ่ ประดิษฐานในพระอุโบสถมาแต่ต้นนั้น ไม่นับถึงลักษณะ พระพุทธรูป ซึ่งอาจอัญเชิญพระเก่ามาเป็นประธาน แต่ลักษณะของฐานชุกชี และ การประดิษฐานพระนั้น เป็นแบบที่อยู่ในความนิยมเมื่อครั้งก่อนสมัย สมเด็จพระ นารายณ์มหาราชมาก บางทีอาจเป็นวัดเก่าแก่ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรง ปฏิสังขรณ์ขึ้นก็เป็นได้ แต่กรณีเช่นนี้ไม่มีหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดเพิ่มเติม เพียง แต่รับทราบกันไว้ หรือเก็บไว้เป็นข้อคิด หากจะมีการค้นคว้าต่อไป ก็น่าจะเป็น ประโยชน์ได้บ้าง ส่วน บานประตูซึ่งสลักไม้เป็นรูปพระนารายณ์ทรงสิงห์บานหนึ่ง และทรงครุฑบานหนึ่งนั้น สันนิษฐานว่าคงจะเป็นเครื่องหมายบอกให้ทราบว่า วัดนี้เป็นวัดที่สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงสร้าง และคงจะทำขึ้นในคราวปฏิสังขรณ์นี้เอง แต่ฝีมือช่างตลอดจนลักษณะ และลวดลายนั้น ผิดแผกจากศิลปกรรมในรุ่นเดียวกัน อาจจะเป็นฝีมือช่างชาวลพบุรีนั่นเอง
              ทางด้านหลังพระอุโบสถ ภายในเขตพัทธสีมา มีเจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ชิดกับตัวพระอุโบสถ ตามธรรมเนียมความนิยม สร้างโบสถ์หรือวิหารหน้าสถูปหรือเจดีย์ เจดีย์องค์นี้น่าจะมีมาแต่เดิมแล้ว แต่ในลักษณะปัจจุบัน ได้รับการบูรณะในรัชกาลที่ ๔ หอไตรริมบ่อน้ำหน้าพระอุโบสถก็เช่นเดียวกัน เป็นหอไตรขนาดพอเหมาะ มีลายหน้าบัน เป็นก้านขดสวยงาม
              ศาลาและกุฏิซึ่งสร้างขึ้นในครั้งนั้น ก็ยังมั่นคงแข็งแรงดีอยู่ในปัจจุบัน กุฏิสร้างเป็นหมู่ตึก เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม มีบ่อน้ำตรงหน้าพระอุโบสถ และทางด้านหลังหมู่กุฏิ ทั้งสองบ่อเป็นบ่อกลมลึก ผนังกรุอิฐตลอดก้นบ่อ ลักษณะเป็นแบบเดียวกับบ่อน้ำใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คงจะขุดขึ้นในสมัยนั้น ในการปฏิสังขรณ์ในรัชกาลที่ ๔ นั้น ยังได้สร้างกำแพงสูงรอบวัด มีซุ้มประตูด้านหน้าวัดสองแห่ง และทางหลังวัดอีกแห่งหนึ่ง ซุ้มประตูและกำแพงส่วนใหญ่ ยังสมบูรณ์ดีอยู่ในปัจจุบัน
              เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์ วัดกวิศรารามเรียบร้อยแล้ว ทรงอาราธนาพระสงฆ์ รามัญนิกายมาอยู่จำพรรษา โดยมีเจ้าอาวาสสืบต่อกันมากี่องค์ ไม่ปรากฏ แต่เจ้าอาวาสทุกองค์มีสมณศักดิ์เป็น "พระครูรามัญสมณคุณ" ต่อกันมา จนกระทั่ง เปลี่ยนจากวัดรามัญเป็นวัดมหานิกาย
              ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชได้เสด็จพระราชทาน ผ้าพระกฐินที่วัดนี้ เมื่อคราวเสด็จประพาสลพบุรี พ.ศ. ๒๔๒๑ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพยายามเร่งรัดปรับปรุงประเทศชาติ เพื่อให้เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมนานาประเทศในทุก ๆ ด้าน ทรงดำเนินตามรัฐประศาสโนบาย ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ พระบรมชนกนาถได้ทรงวางไว้ แต่มิทัน ได้ดำเนินการให้สำเร็จ ครบถ้วนตามพระบรมราโชบาย ก็สิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จ พระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงดำเนินสืบต่อพระบรมราโชบายนั้น และทรงมีพระราชดำริ กว้างขวางออกไปอีก จนสำเร็จเป็นความเจริญรุ่งเรือง ของประเทศชาติดังปรากฏแล้ว ทางด้าน คณะสงฆ์ ทรงส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติ พระธรรมวินัยและการศึกษา ของคณะสงฆ์ จนเข้า ระเบียบ และเจริญก้าวหน้าเช่นเดียวกับด้านอื่น
              สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ทรงเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์ ความเจริญก้าวหน้าให้แก่ ประเทศชาติ ในสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษา ทั้งทางการศึกษาของคณะสงฆ์ และการศึกษาของชาติ ตลอดจนทรงจัดการปกครอง คณะสงฆ์ ให้เข้าระเบียบ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การที่ทรงจัดการศึกษาหัวเมือง มีพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ขึ้นเป็นครั้งแรก พระราชบัญญัตินี้จัดแบ่งการปกครอง เป็นส่วนภูมิภาค มีมหาเถรสมาคม เจ้าคณะตามลำดับชั้น จนถึงเจ้าอาวาส ปกครองบังคับบัญชา กันเป็นชั้น ๆ ตามลำดับ เป็นครั้งแรกที่พระสงฆ์ปกครองกันเอง และจากการที่ทรงจัดการเช่นนี้ ทำให้การปกครองคณะสงฆ์ เป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นสัดส่วนสืบมาจนปัจจุบัน
             จากการที่สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงจัดการปกครอง คณะ สงฆ์ดังกล่าว ได้ทรงจัดให้วัดกวิศรารามเป็นวัดไทย เนื่องจากหาผู้ทำนุบำรุงพระสงฆ์ รามัญนิ กายได้ยากขึ้น หลังจากทรงเปลี่ยนแปลงแล้ว วัดกวิศรารามก็เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์ไทย มหานิกายต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยมีเจ้าอาวาสองค์แรกในยุคหลังนี้คือ พระครู โวทานสมณคุต (รุ่ง)
             พระครูโวทานสมณคุต (รุ่ง) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกวิศราราม มาจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ก็มรณภาพ พระพุทธวรญาณ (กิตฺติทินฺนเถระ) ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้รั้งหน้าที่เจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ นับเป็น เจ้าอาวาส วัดไทยองค์ที่สองซึ่งดำรงตำแหน่ง ต่อมาท่านได้ปรับปรุง พัฒนาวัดเป็นอันมาก ทั้งด้านการพระศาสนา การศึกษาของพระสงฆ์ ตลอดจนการศึกษาของเยาวชน

วัดกวิศราราม กับ การศึกษา

ดังกล่าวแล้วว่า วัดกวิศรารามนั้นเป็นวัดเล็ก ทั้งที่ตั้งอยู่ก็ค่อนข้างจะลับตา เนื่องจากอยู่ท้ายพระราชวังนารายณ์ หรือพระนารายณ์ราชนิเวศน์ และตามสภาพ ของตัวเมืองลพบุรี ในสมัยนั้น ก็อยู่ทางใต้ปลายเขตเมือง ตัวพระราชวังคั่นวัด ให้ห่างจากย่านจอแจของตัวเมือง จึงอาจมีผู้ไม่รู้จักอยู่บ้าง แต่ก็เป็นผลดีอย่างยิ่ง สำหรับด้านความวิเวก และสงัดสมลักษณะของวัด แต่ความเป็นวัดเล็กนั้น เป็น สิ่งที่ไม่อาจขยับขยาย ให้ใหญ่โตขึ้นได้ แม้ในภายหลังจะได้รับการปรับปรุง อย่างมากแล้วก็ตาม เนื่องจากพื้นที่ของวัดนั้นจำกัด ติดถนนและที่ราชพัสดุ ลักษณะของวัดจึงเป็นวัดเล็ก ๆ ตลอดมา แต่ในด้านความสำคัญนั้นมีอยู่มาก เพราะเป็นอารามหลวงชั้นตรี และเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง จึงได้รับ พระราชทานเทียนพรรษา เพียงวัดเดียวในลพบุรี เป็นวัดที่เคยมีเจ้าอาวาส เป็น รองสมเด็จพระราชาคณะ เมื่อครั้งยังไม่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ในสมัย สมบูรณาญาสิทธิราชย์ วัดกวิศรารามก็เป็นศูนย์ ในการประกอบพิธีต่าง ๆ ของทางราชการ โดยเฉพาะเป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ของจังหวัดลพบุรี และในภายหลังก็เป็นที่ทำประโยชน์ แก่สังคมและประเทศชาติ ทางด้าน การศึกษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านเจ้าอาวาสได้อุทิศตน เพื่อการพระศาสนา และการศึกษาตลอดมา
             ท่านเจ้าคุณพระพุทธวรญาณ เจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ หลังจากเปลี่ยนมาเป็น วัดมหานิกายนั้น นับตั้งแต่ท่านเดินทางเข้ามาอยู่ในวัดนี้ เมื่อ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ และมีพระอยู่เพียง ๕ รูปนั้น ก็ได้เริ่มปรับปรุงวัดเป็นการใหญ่ ทางด้านสถานที่นั้น ไม่อาจขยับขยายได้ดังกล่าวแล้ว ท่านจึงได้ปรับปรุงทาง ด้านอื่น นับตั้งแต่เริ่มจัดให้เป็น สำนักศึกษาทางนักธรรมและบาลี ขึ้นเป็น อันดับแรก แล้วก็ดำเนินการด้านการศึกษาต่อมาเป็นลำดับ จนกระทั่งปัจจุบัน วัดกวิศราราม กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษา และศาสนาของลพบุรี ในแต่ละปี มีพระจำพรรษาประมาณ พรรษาละ ๕๐ รูป
              ในชีวิตของท่าน ทำหน้าที่เป็นครูมาตั้งแต่แรกอุปสมบท และเกี่ยวข้องกับ การศึกษาตลอดมา ทั้งการศึกษาของพระเณร และเยาวชน เมื่อทำหน้าที่เจ้าอาวาส วัดกวิศราราม จึงจัดตั้งสำนักศึกษา และโรงเรียนขึ้นหลายประเภทเช่นโรงเรียน การศึกษาผู้ใหญ่ โรงเรียนวินิตศึกษา โรงเรียนธรรมศึกษาพิเศษ เป็นต้น และด้วยเหตุนี้เอง จึงมีศิษย์มากมาย ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
              ในปัจจุบันนี้ สำนักงานการศึกษาและสำนักงานทางศาสนา ซึ่งตั้งอยู่ ณ วัดกวิศราราม มีมากมายหลายประเภทด้วยกัน คือ โรงเรียนนักธรรม โรงเรียนบาลี โรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ฝ่ายบรรพชิต โรงเรียนธรรมศึกษาพิเศษพุทธสมาคม จังหวัด ลพบุรี โรงเรียนเทศบาลวัดกวิศราราม โรงเรียนวินิตศึกษา กวิศรารามมูลนิธิ สำนักงานมูลนิธิ บำรุงตึกสงฆ์อาพาธ พระธรรมญาณมุนี และสมาคมศิษย์กวิศร์ จึงได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษา และศาสนาของจังหวัดลพบุรี
             สำหรับโรงเรียนวินิตศึกษา ซึ่งท่านจัดตั้งขึ้น และปัจจุบันเป็นโรงเรียนของ วัดกวิศรารามนั้น เป็นโรงเรียนราษฎร์ที่กระทรวงศึกษาธิการ รับรองวิทยฐานะ เทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล และเป็นโรงเรียนราษฎร์ในอันดับแนวหน้า ของจังหวัด ลพบุรี

วัดกวิศราราม กับ การศึกษา

             ดังกล่าวแล้วว่า วัดกวิศรารามนั้นเป็นวัดเล็ก ทั้งที่ตั้งอยู่ก็ค่อนข้างจะลับตา เนื่องจากอยู่ท้ายพระราชวังนารายณ์ หรือพระนารายณ์ราชนิเวศน์ และตามสภาพ ของตัวเมืองลพบุรี ในสมัยนั้น ก็อยู่ทางใต้ปลายเขตเมือง ตัวพระราชวังคั่นวัด ให้ห่างจากย่านจอแจของตัวเมือง จึงอาจมีผู้ไม่รู้จักอยู่บ้าง แต่ก็เป็นผลดีอย่างยิ่ง สำหรับด้านความวิเวก และสงัดสมลักษณะของวัด แต่ความเป็นวัดเล็กนั้น เป็น สิ่งที่ไม่อาจขยับขยาย ให้ใหญ่โตขึ้นได้ แม้ในภายหลังจะได้รับการปรับปรุง อย่างมากแล้วก็ตาม เนื่องจากพื้นที่ของวัดนั้นจำกัด ติดถนนและที่ราชพัสดุ ลักษณะของวัดจึงเป็นวัดเล็ก ๆ ตลอดมา แต่ในด้านความสำคัญนั้นมีอยู่มาก เพราะเป็นอารามหลวงชั้นตรี และเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง จึงได้รับ พระราชทานเทียนพรรษา เพียงวัดเดียวในลพบุรี เป็นวัดที่เคยมีเจ้าอาวาส เป็น รองสมเด็จพระราชาคณะ เมื่อครั้งยังไม่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ในสมัย สมบูรณาญาสิทธิราชย์ วัดกวิศรารามก็เป็นศูนย์ ในการประกอบพิธีต่าง ๆ ของทางราชการ โดยเฉพาะเป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ของจังหวัดลพบุรี และในภายหลังก็เป็นที่ทำประโยชน์ แก่สังคมและประเทศชาติ ทางด้าน การศึกษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านเจ้าอาวาสได้อุทิศตน เพื่อการพระศาสนา และการศึกษาตลอดมา ท่านเจ้าคุณพระพุทธวรญาณ เจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ หลังจากเปลี่ยนมาเป็น วัดมหานิกายนั้น นับตั้งแต่ท่านเดินทางเข้ามาอยู่ในวัดนี้ เมื่อ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ และมีพระอยู่เพียง ๕ รูปนั้น ก็ได้เริ่มปรับปรุงวัดเป็นการใหญ่ ทางด้านสถานที่นั้น ไม่อาจขยับขยายได้ดังกล่าวแล้ว ท่านจึงได้ปรับปรุงทาง ด้านอื่น นับตั้งแต่เริ่มจัดให้เป็น สำนักศึกษาทางนักธรรมและบาลี ขึ้นเป็น อันดับแรก แล้วก็ดำเนินการด้านการศึกษาต่อมาเป็นลำดับ จนกระทั่งปัจจุบัน วัดกวิศราราม กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษา และศาสนาของลพบุรี ในแต่ละปี มีพระจำพรรษาประมาณ พรรษาละ ๕๐ รูป ในชีวิตของท่าน ทำหน้าที่เป็นครูมาตั้งแต่แรกอุปสมบท และเกี่ยวข้องกับ การศึกษาตลอดมา ทั้งการศึกษาของพระเณร และเยาวชน เมื่อทำหน้าที่เจ้าอาวาส วัดกวิศราราม จึงจัดตั้งสำนักศึกษา และโรงเรียนขึ้นหลายประเภทเช่นโรงเรียน การศึกษาผู้ใหญ่ โรงเรียนวินิตศึกษา โรงเรียนธรรมศึกษาพิเศษ เป็นต้น และด้วยเหตุนี้เอง จึงมีศิษย์มากมาย ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ในปัจจุบันนี้ สำนักงานการศึกษาและสำนักงานทางศาสนา ซึ่งตั้งอยู่ ณ วัดกวิศราราม มีมากมายหลายประเภทด้วยกัน คือ โรงเรียนนักธรรม โรงเรียนบาลี โรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ฝ่ายบรรพชิต โรงเรียนธรรมศึกษาพิเศษพุทธสมาคม จังหวัด ลพบุรี โรงเรียนเทศบาลวัดกวิศราราม โรงเรียนวินิตศึกษา กวิศรารามมูลนิธิ สำนักงานมูลนิธิ บำรุงตึกสงฆ์อาพาธ พระธรรมญาณมุนี และสมาคมศิษย์กวิศร์ จึงได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษา และศาสนาของจังหวัดลพบุรี สำหรับโรงเรียนวินิตศึกษา ซึ่งท่านจัดตั้งขึ้น และปัจจุบันเป็นโรงเรียนของ วัดกวิศรารามนั้น เป็นโรงเรียนราษฎร์ที่กระทรวงศึกษาธิการ รับรองวิทยฐานะ เทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล และเป็นโรงเรียนราษฎร์ในอันดับแนวหน้า ของจังหวัด ลพบุรี

 



สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จเยี่ยมโรงเรียนวินิตศึกษาเพื่อทรงศึกษาวิธีการ
บริหารงานโรงเรียนราษฎร์ ของพระพุทธวรญาณ
เมื่อ วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๓๐

 
     
     

Winitsuksa School Lopburi copyright 2006
Templates By IT Center